ประวัติของสลาฟ

สลาฟ  (Slave) เป็นเกมไพ่เกมหนึ่ง ที่ได้รับความนิยมเอาไปเล่นเพื่อคลายเครียด หรือแม้กระทั่งการเดิมพัน รูปแบบของเกมไพ่เกมนี้มีการเรียกกันหลากหลายชื่อ ไม่ว่าจะเป็น เพรซิเดนต์ ( President) แอสส์โฮล (Asshole) หรือ อาร์สโฮล (Arsehole) ซึ่งชื่อพวกนี้จะเป็นชื่อที่นิยมเรียกการเล่นไพ่สลาฟในอเมริกาส่วนใหญ่ 

สลาฟ เกมไพ่ที่ให้ทั้งความตื่นเต้นและโอกาสในการเดิมพันที่น่าสนใจ

หากเป็นการเล่นในเอเชียส่วนใหญ่แล้วก็มักจะเรียกว่า สลาฟ หรือ หลายครั้งที่อาจจะเรียกว่า กษัตริย์ ก็มีให้ได้ยินเช่นเดียวกัน เนื่องจากการแข่งขันที่มีการจัดลำดับชั้นของผู้ชนะ แต่ถ้าหากเป็นการเล่นในญี่ปุ่นเกมไพ่เกมนี้จะถูกเรียกว่า Daifugo ซึ่งเป็นการแทนความหมายตายตัวของชื่อเรียกไพ่นั่นก็คือ Daifugo ที่หมายถึงคำว่า ทาส นั้นเองซึ่งมันจะเป็นการเรียกผู้ที่เหลือไพ่อยู่เป็นคนสุดท้ายหรือทิ้งไพ่เป็นคนสุดท้ายในเกม

ด้วยรูปแบบของเกมไพ่ ที่ถือว่ามีความน่าสนใจ ซึ่งใครที่ชื่นชอบเกมเดิมพันที่ต้องใช้ไหวพริบรวมถึงโอกาสต่างๆเพื่อช่วงชิงความได้เปรียบ สิ่งที่สำคัญก็คือการจัดไพ่ให้มีความได้เปรียบมากกว่าผู้เล่นคนอื่น เพราะเป็นเกมที่ใช้ทั้งโชคเข้าช่วยในการได้ไพ่ใบที่ดีกว่า รวมถึงไหวพริบของผู้เล่นเองที่จะต้องรู้จักเปลี่ยนไพ่ต่างๆให้เป็นความได้เปรียบเกิดขึ้นมาในการเล่นเกมไพ่เกมนี้

ประวัติความเป็นมาของ สลาฟ   

ความเป็นมาของไพ่ สลาฟ มีแตกต่างกันออกไปหลายช่องทาง ด้วยรูปแบบของการเล่นที่ล้อกับระบบศักดินา โดยการเรียกลำดับผู้แพ้และผู้ชนะแทนเป็น King, Queen, People และ Slave ซึ่งเหมือนการเปรียบเทียบระบบชนชั้นที่มีการแบ่งแยกอย่างชัดเจนในอดีต 

โดยประวัติความเป็นมาของสลาฟนั้น อ้างอิงมาจาก 2 แหล่งนั่นก็คือ ชาวยิปซีที่เป็นผู้คิดค้นการเล่นเกมนี้ในยุคกลางหรือปลายศตวรรษที่ 19 เนื่องจากเป็นยุคสมัยของการล่าที่ต้องแสวงหาทาสมาเพื่อซื้อขายกัน ซึ่งในยุคแรกมีการใช้ไพ่ทาโรต์เป็นต้นแบบ จากนั้นจึงมีการพัฒนามาเป็นไพ่ป๊อกในที่สุด

ส่วนอีกแหล่งหนึ่งเชื่อว่า สลาฟ มาจาก เกมไพ่ของญี่ปุ่น ซึ่งมีการเรียกชื่อการแพ้ชนะที่ต่างกันออกไปซึ่งจะมีลักษณะที่คล้ายกันนั่นก็คือการเรียกลำดับแพ้ชนะเป็น  

  • Daifugō (มหาเศรษฐี, ประธาน) 
  • Fugō (เศรษฐี, รองประธาน)
  • Heimin (สามัญ, เป็นกลาง)
  • Hinmin (แย่, สกปรก)
  • Daihinmin (แย่มาก)

แต่ในส่วนประวัติการเล่นในประเทศไทยนั้น มีจากหลากหลายรูปแบบมีการมาปะปนกัน ทั้งนี้ยังมีการเรียกชื่อที่ความแตกต่างกันออกไปในแต่ละภูมิภาค เช่นอาจจะเรียกลำดับการแพ้ชนะเป็น “ราชา อำมาตย์ ประชาชน ทาส” หรือ “คิง ควีน  อำมาตย์ ทาส” หรือ “ราชา อำมาตย์ ประชาชน ทาส” หรือ “กษัตริย์ อำมาตย์ ประชาชนและทาส”  ซึ่งจะเห็นว่าทุกรูปแบบของการเลือกนั้น มักจะมีคำว่า ทาส  ปะปนอยู่ในการละเล่นเสมอ 

A picture containing drawing, table

Description automatically generated

 2,568 total views,  3 views today

0/5 (0 Reviews)
Share