ไก่ประดู่หางดำ คือ ไก่สายพันธุ์โบราณดั้งเดิมของไทย ที่มีการพัฒนาจากไก่กระตังอู หรือ ไก่อู และในสมัยก่อนยังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ไก่เหลืองขาว” เป็นไก่ชนที่พระนเรศวรนำไปประลองสนามกับไก่ชนพม่า
ทำความรู้จักกับ ไก่ประดู่หางดำ
สำหรับไก่ประดู่หางดำ คือ พันธุ์ไก่ไทยแท้ที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันจนถึงในปัจจุบัน เป็นไก่ที่ได้รับการพัฒนามาจากไก่กะตังอู หรือ ว่าไก่อู เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ไก่เหลืองหางขาว ซึ่งเป็นไก่ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชนำไปใช้เล่นชนไก่ที่ประเทศพม่าในสมัยทรงพระเยาว์
ลักษณะเด่นของ ไก่ประดู่หางดำ
ส่วนมากที่พบเจอไก่พันธุ์นี้ จะเป็นไก่ที่มีลักษณะงดงาม มักนำไปใช้แข่งขันไก่สวยงาม โดยมีสันไหล่ที่ค่อนข้างกว้าง ตัวล่ำสัน หางยาวเป็นฟ่อนจรดพื้น มีท่อนขาที่ใหญ่ ดูเฉิดฉาย และน่าเกรงขามอย่างถึงที่สุด
- ใบหน้า จะมีใบหน้าที่ค่อนข้างใหญ่ กลม และจะมีความหน้าอิ่มคล้ายกับไก่เหลืองหางขาว
- มีปากใหญ่ นอกจากใบหน้าที่ใหญ่ไก่โบราณพันธุ์นี้ยังมีจงอยปากที่ใหญ่ คล้ายกับปากนกแก้วสีน้ำตาลเข้มสดสวย
- คอ เป็นลักษณะที่เด่นที่สุดของ ไก่ประดู่หางดำ เลยก็ว่าได้ ด้วยทรงที่ค่อนข้างมีความใหญ่ และยาวชิดติดแน่นคล้ายกับงูเห่า เวลายืนจะมีลักษณะสง่าผ่าเผยสวยงาม
- ขนสีดำ สีขนก็เป็นตามชื่อ นั่นก็คือ ทั้งตัวจะมีดำเงาวับ แบบสะท้อน ให้เห็นความงดงามเพลินตาในการมอง แถมขนที่ลำตัวยังมีลักษณะเรียงชิดติดแน่นกันเป็นแผ่น ในขณะที่ส่วนคอกับส่วนหน้าอก ถ้าสังเกตดีๆ จะมองเห็นหนังสีแดง ซึ่งนับว่าเป็นจุดเด่นที่แตกต่างจากไก่พันธุ์อื่นๆ นั่นเอง
- กริยาท่าทาง เป็นไก่ที่มีความสง่าสวยงามเวลายืน เดิน วิ่ง หรือแม้แต่กระทั่งตอนที่ตัวไก่กระพือปีก ทั้งยังมีความหยิ่งผยอง ความแข็งกร้าวทะมัดทะแมง สามารถข่มขวัญไก่คู่แข่งได้เป็นอย่างดี
น้ำหนักตัวของ ไก่ประดู่หางดำ
ไก่ชนแต่ละประเภทก็ย่อมมีเอกลักษณ์ทั้งในเรื่องของกายภาพ และในส่วนของน้ำหนักตัว เพื่อแสดงเอกลักษณ์ที่สมบูรณ์แบบของไก่ในพันธุ์นั้นๆ แน่นอนว่า ไก่ประดู่หางดำ ก็มีเอกลักษณ์ของน้ำหนักตัวที่นักตีไก่ทุกคนพึงจดจำเอาไว้ให้ดีดังนี้
- ตัวผู้จะมีน้ำหนักโดยเฉลี่ยประมาณ 3 – 3.50 กิโลกรัม
- สำหรับตัวเมียนั้นจะมีน้ำหนักเริ่มต้นอยู่ที่ 2.50 – 3.00 กิโลกรัม
ทั้งนี้ ไก่ชนิดนี้ยังสามารถใช้เลี้ยง เพื่อการค้าขายได้อีกด้วย โดยจะให้ไข่ประมาณปีละ 120 180 ใบต่อปี
2,786 total views, 3 views today